วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป


กลอนสวัสดีปีใหม่
สวัสดีปีใหม่  ส่งใจอวยพร
เขียนเป็นคำกลอน  ให้พรสุขี
ขอให้ทุกท่าน  พ้นผ่านไพรี
อยู่ดีกินดี  โชคดีตลอด
มั่งมีเงินทอง  ข้าวของสินสอด
รายได้ตลอด  ให้ปลอดโรคภัย
เรื่องเจ็บอย่าป่วย  ความซวยห่างไกล
ทุกข์เข็ญจัญไร  จงไกลห่างตัว
จงสุขสำราญ  เบิกบานกันทั่ว
ความเลวความชั่ว  ห่างตัวห่างใจ
จงมีแต่สุข  เรื่องทุกข์อย่าใกล้
โชคดีปลอดภัย  คนไทยทุกคน
กลอนอวยพรปีใหม่
พร…ระริน สิ้นทุกข์พบสุขสันต์
ปี…เก่าพลันหมดไปใจสุขี
ใหม่…ผ่านมาจงอุ่นอบพบสิ่งมี
ใส่…โชคดีปีใหม่สดใสพลัน
พาน…พบสิ่งแสนดีไม่มีหมอง
จาก…พี่น้องร่วมใจในร้อยฝัน
บ้าน…รวมรักถักถ้อยร้อยจำนรร
สวน…สร้างสรรสิ่งดีปีใหม่เทอญ

วันคริสต์มาส

ประวัติวันคริสต์มาส

วันคริสต์มาส
วันคริต์มาส เป็นเทศกาลประจำปีซึ่งในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู
สาเหตุที่เลือกวันดังกล่าวเพราะว่าวันนี้เป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังจากนางมารีย์รับการประสูติของพระเยซู และอีกสาเหตุตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 – ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

ซานตาคลอส (Santa Claus)

วันคริสต์มาส
ซานตาคลอสหรือนักบุญนิโคลัส Saint Nicholas เป็นบุคคลที่สร้างขึ้นมาจากจินตนาการของชาวคริสต์ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากเซนต์นิโคลัส ซานตาคลอสในความคิดของคนทั่วไปเป็นชายแก่รูปร่างอ้วนและดูใจดี เขามักใส่เสื้อโคทที่ทำจากขนสัตว์สีแดงสดมีคลิบสีขาวที่เอวคาดเข็มขัดหนังและรองเท้าบูทสีดำ ซานตาคลอสอาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือโดยมีเอลฟ์ ซึ่งเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่ช่วยผลิตของเล่นให้เขานำไปแจกเด็กที่เป็นเด็กดีในระหว่างหัวค่ำถึงตลอดคืนของ วันคริสมาสต์ ซานตาคลอสมีพาหนะเป็นกวางเรนเดียร์ซึ่งสามารถบินได้ ในกลางดึกวันคริสต์มาสซานตาคลอสจะแอบเข้าไปในบ้านที่มีเด็กดีทางปล่องไฟ เพื่อนำของขวัญไปใส่ในถุงเท้าที่แขวนรอไว้หน้าเตาผิง

ต้นคริสต์มาส

วันคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส หรือ ต้นสน ในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก




เพลงคริสต์มาส

เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งผู้แต่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เนื้อร้องเป็นภาษาละติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่าเน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า
ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุนให้มี เพลงคริสต์มาสแบบใหม่ เน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาส คริสมาสต์ เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง
ในปี ค.ศ.1274 มีเพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้นและยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ
เพลง Oh Come
เพลง All Ye Faithful



ในศตวรรษที่ 19 เพลงคริสต์มาส ที่นิยมร้องมากที่สุด ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก คือ
เพลง Silent Night
เพลง Holy Night


คำอวยพรวันคริสต์มาส

We wish you a holiday season that is filled with wonder and delight!
เราขออวยพรให้เทศกาลวันหยุดของคุณเติมเต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์และความเบิกบานใจ

One of my favorite gifts is hearing from you.
Greetings of the season to you and yours.
ของขวัญลํ้าค่าคือการทราบข่าวคราวจากคุณเทศกาลแห่งอวยพรนี้จงเป็นของคุณและครอบครัว

Season’s greetings. Our best to you during the holidays.
เทศกาลส่งความสุขนี้ขอส่งความปรารถนาดีจากเราถึงคุณ

We found that all but good things. Health bodies. On Christmas Day this year.
ขอให้ทุกคนพบแต่สิ่งดีๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ในวันคริสต์มาสปีนี้

วันรัฐธรรมนูญ

 
 

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ
จะมีทุกปีสำหรับ วันรัฐธรรมนูญ วันแห่งกฏหมาย สำหรับ วันที่ 10 ธันวาคมถือเป็นวันรัฐธรรมนูญ ของไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐ ธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตก ต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งหมด

รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550